Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ทีทีบี ผนึกพันธมิตรช่วยกลุ่มลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีชีวิตทางการเงินดีขึ้นรอบด้าน

ทีทีบี ผนึกพันธมิตรช่วยกลุ่มลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีชีวิตทางการเงินดีขึ้นรอบด้าน
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-08

ทีทีบี ผนึกพันธมิตรช่วยกลุ่มลูกค้าบัญชีเงินเดือน มีชีวิตทางการเงินดีขึ้นรอบด้าน มอบรางวัล ttb financial well-being awards 2024 แก่องค์กรที่ร่วมยกระดับชีวิตพนักงาน

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี มุ่งสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กลุ่มลูกค้าบัญชีเงินเดือน มอบรางวัล “ttb financial well-being awards 2024” ให้แก่ 10 องค์กรชั้นนำ ที่เห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรมีชีวิตทางการเงินดีขึ้นรอบด้าน ทั้งการส่งเสริมการเก็บออม บริหารจัดการหนี้อย่างเป็นระบบ มีความคุ้มครอง และวางแผนลดหย่อนภาษีได้อย่างคุ้มค่า พร้อมส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ ควบคู่การวางแผนบริหารจัดการด้านการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

 


นายจักรพันธ์ จารุธีรศานต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าที่ปรึกษาการเงินกลุ่มพนักงานเงินเดือน ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า ทีทีบีต้องการเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนให้องค์กรต่าง ๆ ร่วมกันส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านการเงินและช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนให้กับพนักงานในองค์กร โดยเชื่อว่า หากพนักงานเงินเดือนมีความรู้ในการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคล และมีเครื่องมือช่วยแก้ไขหรือแบ่งเบาภาระหนี้ จะช่วยให้พวกเขาสามารถมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นในด้านอื่น ๆ ต่อไปในอนาคต โดยมีการมอบรางวัล “ttb financial well-being awards 2024” ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 เป้าหมายเพื่อส่งเสริมและชื่นชมบริษัทที่สามารถยกระดับความเป็นอยู่ทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับพนักงานของบริษัทได้จริง ซึ่งในปีนี้ได้คัดเลือก 10 องค์กรชั้นนำที่ใช้บัญชีเงินเดือนทีทีบี และขับเคลื่อนธุรกิจที่ใส่ใจการยกระดับสวัสดิการ เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการส่งเสริมให้พนักงานเงินเดือนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น

 


“ตลอด 3 ปีที่ได้เริ่มโครงการนี้ เราช่วยพนักงานเงินเดือนให้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นไปแล้วหลายองค์กร ซึ่งล้วนเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับสวัสดิการและสร้างบรรทัดฐานใหม่ในการส่งเสริมให้พนักงานเงินเดือนมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีการดูแลสิทธิพิเศษด้านการเงินให้กับองค์กรที่มีพนักงานใช้บัญชีเงินเดือนทีทีบี โดยร่วมมือกับพันธมิตรองค์กรที่มีวิสัยทัศน์ในทิศทางเดียวกัน คือ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจส่งเสริมให้พนักงานได้รับสวัสดิการที่ดี และมีความรู้ในการบริหารจัดการการเงินของตนเองได้รอบด้าน เพื่อให้ชีวิตทางการเงินของพนักงานทุกคนในองค์กรดีขึ้นแบบยั่งยืน รวมถึงใช้ชีวิตได้อย่างอิสระมากขึ้น” นายจักรพันธ์ กล่าว

สำหรับรางวัล “ttb financial well-being awards 2024” มีหลักเกณฑ์การให้คะแนนพิจารณาจากแนวทางส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีของพนักงานรอบด้านทั้ง 4 หัวข้อ 1) ส่งเสริมชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น 2) ส่งเสริมการสร้างภูมิคุ้มกันทางการเงิน 3) ส่งเสริมการเก็บออม และ 4) ส่งเสริมวินัยการบริหารหนี้ที่ดี ซึ่ง 10 องค์กรที่ได้รับรางวัลจะได้รับเงินสนับสนุนองค์กร มูลค่า 100,000 บาท พร้อมโล่รางวัลยกย่องความเป็นเลิศขององค์กร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท รวม 10 รางวัล ได้แก่

 


· บริษัทที่ได้รับรางวัลประเภทคะแนนรวมสูงสุด ที่มีพนักงานน้อยกว่า 500 คน ได้แก่ บจก. แวนด้าแพค บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ห้างหุ้นส่วน เฮียบหงวนมอเตอร์ จำกัด และ บมจ.เดนทัล คอร์ปอเรชั่น

· บริษัทที่ได้รับรางวัลประเภทคะแนนรวมสูงสุด ที่มีพนักงานมากกว่า 500 คน ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท สตาร์เฟล็กซ์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สินแพทย์ เสรีรักษ์ จำกัด

ทีทีบีสร้างสรรค์โซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์พนักงานเงินเดือนเรื่องหนี้ด้วยแนวทางการแก้ปัญหาหนี้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น โครงการสวัสดิการพิชิตหนี้ ที่มีโปรแกรมตรวจสุขภาพทางการเงิน สามารถทราบสถานะทางการเงินที่เหมาะสมกับสภาวะการเงินของแต่ละคน พร้อมคอร์สเรียนออนไลน์ ฟรี! เพิ่มภูมิคุ้มกันการเป็นหนี้ การรวบหนี้ด้วยบ้านหรือรถ สินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ (ttb welfare loan) ที่มีอัตราดอกเบี้ยพิเศษเริ่มต้น 7.99% ต่อปี เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้ ทำให้ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา ธนาคารได้ให้สินเชื่อสวัสดิการให้กับมนุษย์เงินเดือนไปแล้ว มากกว่า 53,000 คน คิดเป็นวงเงินประมาณ 14,000 ล้านบาท ช่วยประหยัดดอกเบี้ยที่เคยจ่ายสูง ๆ ไปได้ถึง 6,000 กว่าล้านบาท

ธนาคารยังคงมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการเปลี่ยนชีวิตทางการเงินของพนักงานเงินเดือนให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพนักงานในสังกัดพันธมิตรบริษัทต่าง ๆ ที่ใช้บริการจ่ายเงินเดือนกับทีทีบี พร้อมวางเป้าหมายขยายฐานพันธมิตรองค์กรชั้นนำเพิ่มขึ้น เพื่อผนึกความแข็งแกร่งในการร่วมสร้างบรรทัดฐานใหม่ด้านสวัสดิการให้กับพนักงานได้อย่างแท้จริง