Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization

ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-09

ทีทีบี ขับเคลื่อนดิจิทัลด้วย Data และ AI ทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินให้ลูกค้ามีชีวิตการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง


ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี สะท้อนความสำเร็จจากการนำข้อมูล (Data) และ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด บนเส้นทางการเป็นผู้นำด้านการขับเคลื่อน Digital Transformation เพื่อสร้าง Customer Experience ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า มุ่งยกระดับประสบการณ์ทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการในระดับเฉพาะบุคคล (Segment of One) พร้อมทรานส์ฟอร์มสู่ Hyper-Personalization ส่งมอบประสบการณ์ที่เหมาะสมกับลูกค้ารายบุคคล เพื่อให้ลูกค้ามีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นอย่างแท้จริง

นายนริศ สถาผลเดชา ประธานกลุ่มงาน Data และ Analytics ทีเอ็มบีธนชาต แบ่งปันแนวคิดการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการขับเคลื่อนองค์กร ในงาน MarTech Expo 2025 ว่า Digital Transformation ในแบบของทีทีบี คือ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายทั้งในระดับองค์กรและระดับบุคคล มีเป้าหมายต้องการสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับคนไทยอย่างแท้จริง มุ่งมั่นพัฒนาบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการในระดับเฉพาะบุคคล (Segment of One) และก้าวไปสู่ระดับ Hyper-Personalization ที่สร้างประสบการณ์อย่างเหมาะสมให้กับลูกค้ารายบุคคล โดยใช้ Dataและ AI เป็นเครื่องมือ ซึ่งธนาคารเน้นให้ความสำคัญกับการเข้าใจลูกค้าเชิงลึก เพื่อให้ทราบพฤติกรรมและความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า

 


Hyper-Personalization คือ การนำเอา Big Data หรือข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์พฤติกรรมต่าง ๆ ของลูกค้า เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการสื่อสารและการบริการแบบเฉพาะบุคคล ช่วยให้ธนาคารสามารถกำหนดแนวทางการบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละบุคคลได้ดียิ่งขึ้น โดยทีทีบีนำข้อมูลที่มีมากกว่า 6.3พันล้าน Data Points จากลูกค้าที่ดูแลกว่า 10 ล้านราย มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และสร้าง Customer Experience ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยใช้ Data และ AI เพื่อมอบบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ลูกค้าในระดับบุคคลผ่าน Personalized AI Engine บนแอป ttb touch ด้วยแนวคิด Humanized Digital Banking ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าได้อย่างรอบด้าน ช่วยให้ชีวิตทางการเงินลูกค้าดีขึ้นในทุกระดับ ดังนี้

1. Trust Security : มาตรฐานความปลอดภัยที่ลูกค้ามั่นใจ

Trust Security เป็นพื้นฐานสำคัญที่ธนาคารต้องทำให้ได้ โดยที่ทีทีบีใช้ Data และ AI ในการวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ เช่น การแจ้งเตือนให้ปรับลดวงเงินการทำธุรกรรมให้เหมาะสม โดยดูจากพฤติกรรมการเดินบัญชีของลูกค้า หรือ การแจ้งเตือนลูกค้าบัตรเครดิตแสนกว่ารายที่ไม่เคยซื้อของออนไลน์ซื้อโฆษณา หรือใช้จ่ายต่างประเทศ โดยแนะนำให้ตั้งค่าปิดการใช้งานดังกล่าวบนเครดิตการ์ดในแอป ttb touch เป็นต้น

 


2. Meet Expectation : ตอบโจทย์ความคาดหวังของลูกค้า

ทีทีบีใช้ Data และ AI วิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมทางการเงินของลูกค้า ทำให้สามารถนำเสนอบริการที่ตรงใจลูกค้าในเวลาที่เหมาะสม โดยศึกษาพฤติกรรมลูกค้ารายบุคคลว่าสะดวกในช่วงเวลาไหนมากที่สุด ทำให้ Personalized Card สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เพิ่มขึ้น 2 เท่า และมีลูกค้าเปิดบัญชีเพิ่มขึ้น 24% หรือการสมัครบัตรเครดิตก็เพิ่มขึ้น 50% โดยมีการแนะนำข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าผ่าน Personalized Message เช่น การแจ้งเตือนลูกค้าแต่ละคนให้ต่อประกันรถเมื่อใกล้ครบสัญญา เตือนให้ชำระหนี้ เป็นต้น ซึ่งมีผลตอบรับดีมาก และสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าในช่องทางดิจิทัลอย่างเห็นได้ชัด

3. Hyper-Personalized : สร้างประสบการณ์ทางการเงินที่เหมาะสมเฉพาะบุคคล

ทีทีบี มุ่งเน้นการส่งมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ใช้ช่องทางดิจิทัลผ่านแอป ttb touch ธนาคารจึงใช้ Data และ AI เข้ามาสร้าง Journey ที่เป็นการเติบโตของแต่ละบุคคล เพื่อแนะนำบริการและผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์อย่างเหมาะสม เช่น การแนะนำแผนการออมเงินหรือการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล หรือทางเลือกในการจัดการหนี้สิน เพื่อให้ชีวิตทางการเงินดีขึ้น ซึ่งในปีนี้ลูกค้าที่ดีต้องได้มากกว่า เรียกว่าเป็นครั้งแรกของวงการธนาคารไทยที่มีโปรแกรม “ผ่อนดีมีรางวัล” โดยลูกหนี้ที่มีพฤติกรรมดีจะได้รางวัล เช่น ดอกเบี้ยลดลง หรือกลุ่มคนออมก็จะแนะนำบัญชีเงินฝากแบบมีเหตุมีผล แสดงให้เห็นชัดเจนว่าการย้ายบัญชีเงินฝากจะได้ผลตอบแทนเพิ่มอย่างไร เป็นต้น

 



“Data เป็นปัจจัยหลักสำคัญพื้นฐานที่จะช่วยให้การใช้เทคโนโลยีอย่าง AI วิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินเฉพาะบุคคล จะช่วยยกระดับให้ชีวิตทางการเงินของลูกค้าดีขึ้น ซึ่งเทคโนโลยี AI จะยังคงอยู่ต่อเนื่อง ไม่หายไปอย่างแน่นอน แต่การมี Data และการเข้าใจลูกค้าเป็นเรื่องจำเป็นมาก ในการสร้าง Journey ระดับรายบุคคล และ AI จะเป็นตัวปลดล็อกให้ก้าวไปสู่การเป็น Hyper-Personalization ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ทีทีบีเข้าใจลูกค้าแบบรายบุคคลด้วยพลังของ Data และ AI เพื่อสร้างประสบการณ์ทางการเงินที่ตรงใจและยกระดับคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง” นายนริศ กล่าวสรุป