Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ทีทีบี ชูแผนกลยุทธ์ปี 2568 สำหรับเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลาง ฝ่าความท้าทาย

ทีทีบี ชูแผนกลยุทธ์ปี 2568 สำหรับเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลาง ฝ่าความท้าทาย
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-10

ทีทีบี ชูแผนกลยุทธ์ปี 2568 สำหรับเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลาง ฝ่าความท้าทาย มอบโซลูชันที่ให้มากกว่า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและแข่งขันได้

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี เปิดแผนกลยุทธ์ช่วยลูกค้าเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลางในปีนี้ก้าวผ่านความท้าทาย มุ่งเน้นให้ลูกค้า "ได้มากกว่า" ใน 3 ด้าน ทั้งโซลูชันทางการเงินที่ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม เครื่องมือดิจิทัลเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ และการสนับสนุนให้ก้าวผ่านสู่มาตรฐานการทำธุรกิจใหม่ที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตอกย้ำการเป็นมากกว่าสถาบันการเงิน พร้อมเป็นพันธมิตรเคียงข้างลูกค้าเพื่อสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่ง สามารถแข่งขันได้และเติบโตอย่างยั่งยืน

 


นายศรัณย์ ภู่พัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต กล่าวว่า จากความท้าทายทั้งหลายในปีนี้ จะส่งผลให้ผู้ประกอบการประสบกับความยากลำบากในการทำธุรกิจมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลาง ซึ่งทีทีบีไม่ได้ต้องการเป็นเพียงสถาบันการเงินที่ให้แค่เงินทุน แต่ยังเป็นพันธมิตรที่ช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการด้วยโซลูชันทางการเงินที่มากกว่าและตอบโจทย์ธุรกิจแบบครบวงจรยิ่งขึ้น พร้อมเสริมแกร่งด้วยองค์ความรู้และข้อมูลเชิงลึกที่ช่วยเสริมศักยภาพให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง

สำหรับแผนกลยุทธ์เพื่อสนับสนุนลูกค้าเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลางในปีนี้ ทีทีบีมุ่งเน้นให้ลูกค้าธุรกิจ "ได้มากกว่า" ใน 3 ด้านสำคัญ

1.โซลูชันทางการเงินครบวงจร ตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรม ทีทีบีเข้าใจผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลางที่ต้องการเงินทุนเพื่อขยายธุรกิจให้เติบโต แต่ไม่มีหลักประกันเพียงพอ และอำนาจการต่อรองต่ำ จึงมอบโซลูชันที่เฉพาะเจาะจงและตอบโจทย์สำหรับแต่ละอุตสาหกรรมมากขึ้น พร้อมประเมินว่าอุตสาหกรรมที่ยังเติบโตได้ในปีนี้ ได้แก่ ธุรกิจด้านบริการ เฮลท์แคร์ อาหาร เครื่องดื่ม สินค้าอุปโภคบริโภค ค้าปลีก ขนส่งและโลจิสติกส์ ซึ่งการตอบโจทย์ด้วยโซลูชันทางการเงินที่สนับสนุนทุกภาคส่วนในซัพพลายเชน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (Supply Chain Solutions) จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพและความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมได้มากขึ้น

2. เครื่องมือดิจิทัลเสริมศักยภาพการดำเนินธุรกิจ ทีทีบีช่วยให้เอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลางมีเครื่องมือในการบริหารธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดต้นทุน และแข่งขันได้เทียบเท่ากับบริษัทขนาดใหญ่ ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์มและรายงานเชิงลึก (Analytic Report) โดยมีโซลูชันที่หลากหลาย ได้แก่

· ttb smart shop ตัวช่วยธุรกิจที่เป็นมากกว่าเครื่องมือรับเงิน ให้ธุรกิจรับเงินไว พร้อมระบบจัดการร้านค้า และได้มากกว่าด้วยรายงานเชิงลึก เพื่อนำไปพัฒนากลยุทธ์และต่อยอดได้ในอนาคต

· ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ที่ช่วยให้ลูกค้าทำธุรกรรมออนไลน์ได้สะดวก มีประสิทธิภาพ และควบคุมธุรกิจได้ในที่เดียว พร้อมฟีเจอร์ใหม่ครั้งแรกในประเทศไทย ที่จะเปิดตัวในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้ ได้แก่ การสมัครและยืนยันตัวตนด้วยตนเองผ่าน ttb business one และการแนะนำโซลูชันเฉพาะรายบริษัท สามารถสมัครผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ด้วยตนเอง

3. สนับสนุนให้ก้าวผ่านสู่มาตรฐานการทำธุรกิจใหม่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ทีทีบีพร้อมสนับสนุนให้ธุรกิจปรับตัวสู่แนวทางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยช่วยประเมินผลกระทบในภาพอุตสาหกรรม วิเคราะห์ความเสี่ยงให้กับลูกค้า สร้างความตระหนัก และช่วยให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนผ่าน พร้อมกับนำเสนอโซลูชันที่สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม “Green Transition Solution” และในด้านของโซลูชันเพื่อสังคม ก็มี “ปันบุญ โดยทีทีบี” โซลูชันในการช่วยระดมทุนและรับบริจาคอย่างครบวงจร ที่อำนวยความสะดวกลูกค้าธุรกิจเพื่อการมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อสังคม

 



“เราเชื่อว่าแม้ปีนี้จะมีความท้าทายอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำธุรกิจ แต่เอสเอ็มอีและธุรกิจขนาดกลางของไทยยังมีศักยภาพในการเติบโตได้หากเข้าสู่ระบบและได้รับการสนับสนุนที่เหมาะสม” นายศรัณย์ กล่าวสรุป
 


ทีทีบีมุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือลูกค้าให้ได้มากกว่า ทั้งในแง่ของโซลูชันทางการเงิน เครื่องมือดิจิทัล และการสนับสนุนให้ก้าวผ่านสู่มาตรฐานการทำธุรกิจใหม่ ที่สามารถแข่งขันได้และขับเคลื่อนธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน