Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธนาคารไทยพาณิชย์ คว้าแชมป์ธนาคารแห่งปีต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน

ธนาคารไทยพาณิชย์ คว้าแชมป์ธนาคารแห่งปีต่อเนื่อง 3 ปีซ้อน
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-17

ธนาคารไทยพาณิชย์ สร้างความสำเร็จต่อเนื่องด้วยการครองตำแหน่ง “ธนาคารแห่งปี 2568” ตามการประกาศผลการจัดอันดับ ธนาคารแห่งปี 2568 Bank of the Year 2025 จากวารสารการเงินธนาคาร ฉบับเดือนเมษายน 2568 โดยใช้ผลประกอบการของธนาคารพาณิชย์ 12 แห่ง ในรอบปี 2567 มาประกอบการพิจารณา ความสำเร็จในครั้งนี้ นับเป็นปีที่ 3 ติดต่อกัน (2566-2568) และเป็นครั้งที่ 17 ของการได้รับรางวัลธนาคารแห่งปี ด้วยผลการดำเนินงานในปี 2567 ที่แข็งแกร่ง ภายใต้การนำทีมบริหารของ นายกฤษณ์ จันทโนทก ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ รางวัลธนาคารแห่งปียังได้สะท้อนความเชื่อมั่นของลูกค้าที่ไว้วางใจในธนาคารไทยพาณิชย์มาอย่างยาวนาน และบ่งบอกความสำเร็จของกลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch ที่มุ่งผสานเทคโนโลยีดิจิทัลและ AI กับข้อมูลและการบริการจากบุคลากรของธนาคาร เพื่อมอบประสบการณ์ทางการเงินที่ไร้รอยต่อในทุกช่องทางโดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางอย่างแท้จริง

ธนาคารไทยพาณิชย์ ดำเนินงานภายใต้กลยุทธ์ Digital Bank with Human Touch มุ่งพัฒนาบริการสู่การเป็นดิจิทัลแบงก์ที่ให้บริการทางการเงินแบบครบวงจร (Universal Digital Bank) ที่เป็นอันดับหนึ่งด้านการบริหารความมั่งคั่ง (Wealth Management) พร้อมมอบประสบการณ์การให้บริการที่เชื่อมถึงกันอย่างไร้รอยต่อในทุกช่องทางให้กับลูกค้าโดยผสานเทคโนโลยีดิจิทัลที่ล้ำสมัยเข้ากับการบริการที่ใส่ใจในทุกมิติ ธนาคารนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ครบวงจรทั้งด้านการเงินส่วนบุคคลและธุรกิจ พร้อมตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วและตรงจุดด้วยการใช้ข้อมูลและปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอโซลูชันที่เหมาะสม ธนาคารยังคงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลที่มีความเสถียรและปลอดภัย การให้คำปรึกษาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญ และการสร้างระบบนิเวศทางการเงินที่ครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์ทุกช่วงชีวิตของลูกค้า พร้อมขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัล

ในปี 2568 ธนาคารไทยพาณิชย์จะมุ่งเน้นเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) การนำเสนอโซลูชันทางการเงินอย่างเหมาะสมกับความต้องการและระดับความเสี่ยงของลูกค้าเป้าหมาย เพื่อให้ธนาคารสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการรักษาคุณภาพสินเชื่อ การบริหารต้นทุนสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ 2) การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อควบคุมอัตราส่วนต้นทุนต่อรายได้ พร้อมยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธนาคารในระยะยาว ทั้งทางด้านบุคลากร และทางด้านไอที และ 3) AI-First Bank การเป็นธนาคารที่ขับเคลื่อนด้วย AI เป็นหลัก โดยดำเนินการลงทุนเพื่อวางรากฐานให้องค์กรสามารถนำเอาเทคโนโลยี AI มาใช้ได้ในทุกส่วนงาน เพื่อเพิ่มความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน ไปจนถึงการสร้างโอกาสในการหารายได้ใหม่เพิ่มเติม

ธนาคารไทยพาณิชย์ ไม่เพียงแต่มุ่งเน้นการเติบโตขององค์กรและเศรษฐกิจไทยเท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยธนาคารให้ความสำคัญกับการช่วยเหลือลูกค้ากลุ่มเปราะบางผ่านมาตรการต่าง ๆ และร่วมสนับสนุนโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการให้สินเชื่อและการลงทุนในโครงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พร้อมการนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียว ปัจจุบัน ธนาคารได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนรวมมูลค่า 145,000 ล้านบาท จากเป้าหมาย 150,000 ล้านบาท (ภายในปี 2566-2568) พร้อมทั้งสนับสนุนให้ลูกค้าทุกกลุ่มธุรกิจตระหนักและปรับตัวสู่แนวทางการดำเนินงานที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมในระยะยาว