Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต ‘A-(tha)’ สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง

SCAP สุดปลื้ม! ฟิทช์จัดอันดับเครดิต ‘A-(tha)’ สะท้อนฐานะการเงินมั่นคง
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-17

เพิ่มศักยภาพเข้าถึงแหล่งเงินต้นทุนต่ำ ช่วยเสริมแกร่งกลุ่ม SAWAD

บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) หรือ SCAP ผู้ให้บริการสินเชื่อรายย่อยครบวงจร ประกาศข่าวดี! ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) แก่ SCAP ที่ระดับ ‘A-(tha)’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น (National Short-Term Rating) ที่ ‘F2(tha)’ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต “มีเสถียรภาพ” (Stable Outlook) ระดับเดียวกับอันดับเครดิตของกลุ่มศรีสวัสดิ์ (SAWAD) สะท้อนโครงสร้างธุรกิจที่แข็งแกร่งของกลุ่ม และเครือข่ายการดำเนินงานในธุรกิจสินเชื่ออุปโภคบริโภคที่มีมายาวนาน รวมถึงความสามารถในการทำกำไรที่เพียงพอ และอัตราหนี้สินที่อยู่ในระดับปานกลาง พร้อมกันนี้ ฟิทช์ยังได้ให้อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวแก่หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีประกันสกุลเงินบาทของ SCAP ที่ออกเสนอขายไปแล้วที่'A-(tha)' ซึ่งจะครบกำหนดตั้งแต่พฤศจิกายน 2568-กุมภาพันธ์ 2572

ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ระบุว่า อันดับเครดิตของ SCAP มาจากอันดับเครดิตรวมของกลุ่มแม่ นำโดยบริษัท ศรีสวัสดิ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAWAD ซึ่งอันดับเครดิตของ SCAP ไม่สามารถแยกออกจากกลุ่มได้อย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากบริษัทมีขนาดใหญ่และมีระดับการบูรณาการกับนิติบุคคลอื่นในกลุ่มสูง ดังนั้น จึงจัดอันดับเครดิตของ SCAP ในระดับเดียวกับกลุ่ม โดยมองว่ากิจการของกลุ่มมีตำแหน่งทางการตลาดและเครือข่ายในกลุ่มธุรกิจสินเชื่ออุปโภคบริโภคอยู่ในระดับที่ดี

 


นางสาวดวงใจ แก้วบุตตา กรรมการ บริษัท ศรีสวัสดิ์ แคปปิตอล 1969 จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เป็นเรื่องน่ายินดีและรู้สึกภาคภูมิใจอย่างยิ่งที่ SCAP ได้รับการจัดอันดับเครดิตระดับ ‘A-(tha)’ จากฟิทช์ เรทติ้งส์ สะท้อนถึงโครงสร้างธุรกิจของกลุ่มที่แข็งแกร่ง และการปล่อยสินเชื่ออย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการได้รับอันดับเครดิต ‘A-(tha)’ จะเอื้อประโยชน์ให้ SCAP เข้าถึงต้นทุนทางการเงินในระดับที่แข่งขันได้ดีขึ้น และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจทำให้ขยายพอร์ตสินเชื่อได้มากขึ้น สนับสนุนผลประกอบการให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง เป็นอีกหนึ่งแรงสนับสนุนที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งให้กลุ่ม SAWAD รวมถึงส่งมอบคุณค่าให้กับผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทและพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ในระยะยาว ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นต่อนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ”

SCAP มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน เดินหน้ารักษามาตรฐานผลการดำเนินงานอย่างมั่นคง โดยในปี 2567 บริษัทมีรายได้รวม 7,750.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.18% จากปีก่อนหน้า และมีกำไรสุทธิ 729.63 ล้านบาท ใกล้เคียงกับปีก่อน แม้อยู่ภายใต้ภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัว สะท้อนถึงศักยภาพในการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมคุณภาพพอร์ตสินเชื่อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับปี 2568 SCAP ตั้งเป้าหมายสร้างกำไรสุทธิเติบโตกว่า 30% จากปีที่ผ่านมา โดยมุ่งเน้นการเติบโตเชิงคุณภาพผ่าน 5 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพฝ่ายขาย, การบริหารพันธมิตรดีลเลอร์อย่างมีระบบ, การอนุมัติสินเชื่อและควบคุมความเสี่ยงอย่างเข้มข้น, การปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน และการยกระดับองค์กรด้วยเทคโนโลยี เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการแข่งขันและรองรับการเติบโตในระยะยาว

ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่เต็มไปด้วยความท้าทาย SCAP ยังคงให้ความสำคัญกับการปล่อยสินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ โดยเน้นลูกค้าที่มีคุณภาพ มีความสามารถในการชำระหนี้จนครบสัญญา พร้อมใช้ระบบควบคุมความเสี่ยงและเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อควบคุม NPL ให้อยู่ในระดับเหมาะสม ซึ่งการได้รับอันดับเครดิตในระดับ ‘A-(tha)’ จะช่วยให้ SCAP สามารถขยายฐานในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น และทำให้สามารถบริหารจัดการต้นทุนทางการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“SCAP ยึดมั่นในการให้บริการสินเชื่ออย่างโปร่งใส เข้าถึงได้ และสร้างโอกาสทางการเงินที่เท่าเทียมแก่ประชาชนไทย” นางสาวดวงใจ กล่าวทิ้งท้าย