Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าพากูรู BCG Model แนะทางรอด SME ตลาดกรีน

ธนาคารกรุงเทพ เดินหน้าพากูรู BCG Model แนะทางรอด SME ตลาดกรีน
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-18

สร้างจุดเปลี่ยนด้วยแนวคิด ESG ย้ำ! ปรับตัวก่อนชิงตลาดใหม่ได้ก่อน พร้อมเคียงข้างเป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” หนุนเปลี่ยนผ่านธุรกิจอย่างยั่งยืน

เร่ง SME ใช้ ESG สร้างทางรอด– นายสหพล วรรณสุศรี ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ผู้อำนวยการลูกค้าธุรกิจรายปลีก นครหลวง (ที่ 2 จากซ้าย) นายกิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ (ที่ 2 จากขวา) นายชนินทร เทพนุภา เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Senior Vice President ผู้จัดการความเสี่ยงด้านสินเชื่อ (ขวาสุด) และ นายประพันธ์ ตันมีสุข เจ้าหน้าที่บริหารระดับ Assistant Vice President ผู้จัดการภาค 1 ลูกค้าธุรกิจรายปลีก นครหลวง (ซ้ายสุด) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ร่วมให้การต้อนรับ ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ รองประธานคณะทำงาน BCG Model สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กลาง) โอกาสให้เกียรติเป็นวิทยากรงานสัมมนา ในหัวข้อ “ESG-แนวทางและการปรับตัวสำหรับผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะ SME” ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้ดำเนินการจัดมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย (SME) เห็นถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ ESG (Environmental, Social และ Governance) เตรียมความพร้อมรับมือกับความท้าทายและโอกาสจากกฎระเบียบและมาตรฐานการค้าโลกใหม่

ดร.สวนิตย์ กล่าวถึงกฎระเบียบกติกาการค้าต่าง ๆ จากต่างประเทศที่มีมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องความยั่งยืน หรือ ESG เช่น มาตรการของสหภาพยุโรป หรือ European Green Deal ที่มีหลายมาตรการภาษีด้านสิ่งแวดล้อม และส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน ชื่อเสียง และความอยู่รอดของธุรกิจ โดยเฉพาะมาตรการ CBAM เนื่องจากวิกฤต Climate Change หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การปรับตัวสู่ธุรกิจสีเขียวอย่างเป็นรูปธรรม จึงไม่ใช่แค่โอกาส แต่เป็น “ทางรอด” ของธุรกิจยุคใหม่ การดำเนินการต้องรวดเร็ว ต้องมีระบบและใช้ดิจิทัลเข้ามาปรับ และต้องทำให้ได้ตลอดทั้งซัพพลายเชน เพื่อเชื่อมโยงมาตรการสีเขียวเข้ากับการยกระดับและขับเคลื่อน SME ให้สามารถก้าวข้ามการเปลี่ยนผ่าน พลิกเกมคว้าโอกาสชิงตลาดใหม่ ควบคู่ไปกับการรักษาตลาดเก่า เพื่อเพิ่มยอดขาย สร้างความมั่นคง และสามารถเติบโตได้ในระยะยาว

ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ “ธนาคารชั้นนำระดับภูมิภาค” ที่มุ่งมั่นเป็น “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ได้ร่วมมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมเพิ่มองค์ความรู้ขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจตามแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ ESG ทั้งในรูปแบบออนไลน์ ออฟไลน์ และไฮบริดมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผู้ประกอบการเข้าร่วมสัมมนากว่า 1,000 ราย และ มีผู้รับชมรวมกว่า 1.6 ล้านราย ผ่านเครือข่ายออนไลน์ Bangkok Bank SME ในปี 2567 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ธนาคารยังคงเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการเปลี่ยนผ่านสำหรับผู้ประกอบการทุกกลุ่ม อาทิ สินเชื่อบัวหลวงกรีนเพื่อการเปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม วงเงินรวม 10,000 ล้านบาท , สินเชื่อบัวหลวงเพื่อการปรับตัวธุรกิจ วงเงินรวม 20,000 ล้านบาท เพื่อส่งเสริม SME ไทยตื่นตัว ใช้ ESG ดำเนินธุรกิจทั้งห่วงโซ่ธุรกิจอย่างมั่นคงและยั่งยืน