Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธ.กรุงเทพ ชวนผู้บริหารร่วมกระตุ้นผู้ประกอบการไทย ลุยเศรษฐกิจสีเขียว-คาร์บอนต่ำ

ธ.กรุงเทพ ชวนผู้บริหารร่วมกระตุ้นผู้ประกอบการไทย ลุยเศรษฐกิจสีเขียว-คาร์บอนต่ำ
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-28

ธ.กรุงเทพ ชวนผู้บริหารชั้นนำร่วมกระตุ้นผู้ประกอบการไทย ลุยเศรษฐกิจสีเขียว-คาร์บอนต่ำ เตือนใครช้าเสี่ยงหลุดเกม แนะเริ่มต้นประเมินตัวเอง-เก็บข้อมูล-ลดใช้พลังงาน พร้อมขอภาครัฐเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจ หนุนธุรกิจไทยคว้าโอกาสในตลาดโลกอย่างยั่งยืน

ธนาคารกรุงเทพ ยืนหยัดเป็น “เพื่อนคู่คิด” ดึงผู้บริหารบริษัทชั้นนำร่วมวงสัมมนา แนะผู้ประกอบการทุกกลุ่มตื่นตัวรับมือระเบียบการค้าใหม่ด้านสิ่งแวดล้อมสู่เศรษฐกิจสีเขียว-คาร์บอนต่ำ ประสานเสียงต้องเร่งปรับตัวทันที เพื่อคว้าโอกาสการค้าในตลาดโลก หากปรับไม่ทันอาจกระทบยอดขายได้ แนะเริ่มต้นประเมินตัวเองหา Baseline ใช้แพลตฟอร์มเก็บข้อมูลลดใช้พลังงานสิ้นเปลือง ชี้ช่วยลดต้นทุนค่าไฟไม่ต่ำกว่า 15-20% พร้อมขอภาครัฐหนุนด้านการเงิน เพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจผู้ประกอบการปรับตัวมากขึ้น
 


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ และเลขานุการบริษัท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงเทพ ในฐานะ “เพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน” ของภาคธุรกิจไทย มีความตั้งใจที่จะพาผู้ประกอบการไทยปรับตัวเพื่อคว้าโอกาสและสร้างการเติบโตให้ธุรกิจอย่างมั่นคงยั่งยืน ผ่านการให้องค์ความรู้ การสร้างเครือข่ายธุรกิจและสินเชื่อมาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้จัดงานสัมมนา “The Great Green Transition” ที่นำบริษัทชั้นนำของไทยรวมทั้งหน่วยงานภาครัฐ ร่วมแนะนำและค้นหาจุดเปลี่ยน โดยสิ่งสำคัญที่เหล่าองค์กรชั้นนำต่างเห็นในทิศทางเดียวกันคือการหา Baseline ค่าพื้นฐานที่บันทึกการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือการใช้พลังงานของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของแผนลดการใช้คาร์บอนที่ชัดเจน

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยใช้พลังงานเป็นหัวใจสำคัญของการขับเคลื่อนในทุกธุรกิจ สิ่งนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โลกร้อนขึ้นเรื่อย ๆ และกลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างให้ความสนใจและมุ่งหาวิธีก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Economy) ทำให้เกิดกฎระเบียบใหม่ทางการค้าที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

“ภาคธุรกิจไทยไม่ควรมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัว เพียงเพราะยังไม่อยู่ในกลุ่มสินค้าที่เจอกฎระเบียบเหล่านี้ เพราะในอนาคตเชื่อว่ามาตรการด้านสิ่งแวดล้อมจะครอบคลุมไปยังสินค้าทุกกลุ่ม และไม่ใช่แค่สหภาพยุโรปเท่านั้นที่จะนำหลักเกณฑ์เหล่านี้มาใช้ หลายประเทศก็กำลังเตรียมดำเนินการเช่นเดียวกัน ซึ่งจะทำให้สินค้าทุกอย่างเกิดการตรวจสอบย้อนกลับทั้งห่วงโซ่ แม้จะเป็นฟันเฟืองเล็กๆในอุตสาหกรรมก็จะมีผลกระทบตามมา อาจทำให้สินค้าขายไม่ได้ด้วยเช่นกัน” นายกอบศักดิ์กล่าว

 


นายทิม แม็คแคฟเฟอร์รี่ Global Investment Director บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG กล่าวว่า SCG ได้ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ที่จะช่วยให้ธุรกิจลดการปล่อยคาร์บอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เทคโนโลยีแผงโซลาเซลล์ประสิทธิภาพสูง เทคโนโลยีที่ให้พลังงานความร้อนสูงโดยไม่ปล่อยคาร์บอน เทคโนโลยีที่ฟอกคาร์บอนออกจากอากาศ และผลิตภัณฑ์ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในระบบห่วงโซ่การขนส่งความเย็น โดยตั้งเป้าหมายลดการปล่อยคาร์บอนให้ได้มากถึง 25% ภายในปี 2030 รวมทั้งผลิตซีเมนต์ที่มีคาร์บอนฟุตพริ้นท์น้อยลงโดยมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างอนาคตที่ยั่งยืนสำหรับประเทศไทย

“สิ่งที่ง่ายที่สุดของธุรกิจควรเริ่มจากประเมินการใช้พลังงานและสาธารณูปโภคภายในธุรกิจเอง และมองหาโอกาสในการลดการใช้พลังงานลง พิจารณาการใช้พลังงานหมุนเวียน ปรับปรุงกระบวนการผลิต และนำเทคโนโลยีมาใช้ ซึ่งผลที่จะเกิดต่อธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุดในทันที ก็คือการช่วยลดภาระค่าไฟฟ้าให้ได้ไม่น้อยกว่า 15-20% สิ่งนี้จะช่วยให้ธุรกิจลดต้นทุนไปได้มาก และสร้างจุดเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจสีเขียวในขั้นแรก เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันระยะยาวให้แก่ภาคธุรกิจได้อย่างแน่นอน” นายทิมกล่าว

 



นายพีรพงศ์ กรินชัย ผู้บริหารสูงสุดสายงานวิศวกรรมกลาง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทขนาดใหญ่ที่มีการขายสินค้าไปทั่วโลก เผชิญกับตัวเร่งในการก้าวเข้าสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำจากความต้องการของลูกค้าในต่างประเทศและข้อกีดกันทางการค้า (trade barrier)ระบบใหม่ ทำให้บริษัทขนาดใหญ่มีความมุ่งมั่นสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำให้ตรงกับมาตรฐาน ไม่ว่าจะเป็น CBAM และ EUDR เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ แม้ธุรกิจขนาดเล็กอาจยังไม่ได้มองภาพด้านนี้มากนักและอาจมองเป็นเรื่องไกลตัว แต่การจัดงานเสวนานี้ ที่ธนาคารได้ดึงธุรกิจทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเข้ามาร่วมงาน ทำให้ตระหนักถึงภาวะโลกร้อนและตระหนักถึงความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นกฎกติกาใหม่ในโลกที่จะช่วยให้ SME ก้าวเข้าสู่การเปลี่ยนแปลงและก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำได้ ทำให้ทั้งภาคธุรกิจและภาคเกษตรอุตสาหกรรมในประเทศไทยยืนหยัดต่อได้ในอนาคต

 


ด้านนายมงคล ตั้งศิริวิช ประธานบริษัท ดูแลประเทศไทย ลาว และเมียนมาบริษัท ชไนเดอร์ (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำด้านความยั่งยืนระดับโลก กล่าวว่า ประสบการณ์ในการเปลี่ยนผ่านองค์กรพบว่ามีอยู่ 3 เรื่องหลักที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืนได้ คือ

Strategize: สร้าง Baseline และเส้นทางสู่การเปลี่ยนผ่านอย่างยั่งยืน (Decabonization Roadmap)
Digitize: นำเสนอเทคโนโลยีดิจิทัลที่ใช้ในการตรวจวัดค่าการใช้พลังงาน การปล่อยก๊าซคาร์บอน มาใช้เพื่อเก็บข้อมูลมาวิเคราะห์หาโอกาสลดการใช้พลังงานลง

Decarbonize: หาโซลูชันเพื่อลดคาร์บอน เช่น การใช้พลังงานสีเขียวมาทดแทน และปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อให้ใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้มองว่า การเก็บข้อมูล คือหัวใจสำคัญของการวางแผนลดการปล่อยคาร์บอน ซึ่งต้องเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับธุรกิจ โดยไม่จำเป็นต้องลงทุนสูงหรือปรับเปลี่ยนใหม่ทั้งหมด ซึ่งการลงทุนเหล่านี้ไม่ใช่ต้นทุนสูญเปล่า แต่จะช่วยต่อยอดความสามารถในการแข่งขัน เพราะการเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจสีเขียวไม่ใช่เรื่องระยะยาวแต่เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องเริ่มทำทันทีเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกที่เกิดขึ้นแล้ว

 


ขณะที่ นางกลอยตา ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า โจทย์ท้าทายที่สุดในการปรับเปลี่ยนไปสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำ คือ การปรับเปลี่ยนทุกห่วงโซ่ของธุรกิจให้ก้าวสู่ธุรกิจสีเขียวไปด้วยกัน โดยเฉพาะกลุ่ม Scope 3 หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมที่อยู่เหนือการควบคุม (Indirect Value Chain Emissions) โดยองค์กรภายนอกใน ซัพพลายเชน ซึ่งคิดเป็นกว่า 90% ของธุรกิจ ที่ยังตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย จึงเป็นหน้าที่ของบริษัทขนาดใหญ่และหน่วยงานทุกภาคส่วนในการผลักดันและสนับสนุนในการเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญนี้

“ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมตามมาด้วยต้นทุนที่สูงขึ้น ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องการขณะนี้ จึงเป็นการเข้าถึงแหล่งเงินทุนทั้งจากภาครัฐและเอกชน หรือการให้สิทธิประโยชน์จูงใจในการปรับเปลี่ยน แต่สิ่งที่คนทั่วไปอาจจะยังไม่รู้คือ เรามีพี่เลี้ยงรออยู่เยอะมากที่พร้อมจะเข้ามาช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็ก เช่น บริษัทขนาดใหญ่ในอุตสาหกรรม หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ที่อยากร่วมทำวิจัยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดคาร์บอน รวมทั้งการสนับสนุนด้านการเงินมากมายจากสถาบันการเงินอย่างธนาคารกรุงเทพ ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่แข็งแรงก็พร้อมจะช่วยทุกธุรกิจให้สามารถผลิกทุกความเสี่ยงให้เป็นโอกาสไปด้วยกัน” นางกลอยตากล่าวทิ้งท้าย