Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

กรีน เยลโล่ จับมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

กรีน เยลโล่ จับมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค  มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
1
เขียนโดย Intrend online 2024-10-21

กรีน เยลโล่ จับมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค  มุ่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์กว่า 1,575 ตันต่อปีด้วย Advanced Cooling Solutions


กรุงเทพฯ ประเทศไทย – 21 ตุลาคม 2567 – กรีน เยลโล่ ผู้ลงทุนและดำเนินงานระดับโลกด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน จับมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ประเทศไทย ผู้นำด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมระดับโลกที่ให้บริการโซลูชันการจัดการพลังงานและระบบอัจฉริยะสำหรับบ้าน อาคาร และภาคอุตสาหกรรม ที่เชี่ยวชาญในผลิตภัณฑ์และบริการที่เพิ่มประสิทธิภาพ และความยั่งยืน ในการร่วมมือกันครั้งนี้จะเป็นการนำระบบการจัดการพลังงานด้านความเย็น (Cooling Service Agreement) เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานของบางปู ชไนเดอร์ อิเล็คทริค รวมถึงลดการใช้พลังงานและการใช้คาร์บอนผ่านเทคโนโลยีทำความเย็นประสิทธิภาพสูง

 

จากซ้าย: นายอาร์มอง ดาร์นงค์, ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาโครงการ, กรีน เยลโล่ (ไทยแลนด์), นาสเตฟาน ดูเฟรน, ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์และพันธมิตร, กรีน เยลโล่ (ไทยแลนด์), นายมงคล ตั้งศิริวิช, ประธานกลุ่มคลัสเตอร์, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค, นายเจเรน เหลียง, ผู้อำนวยการ โรงงานชไนเดอร์ อิเล็คทริค นิคมอุตสาหกรรมบางปู, ชไนเดอร์ อิเล็คทริค

 

ภายใต้ข้อตกลงนี้ กรีน เยลโล่ จะติดตั้งระบบทำความเย็นประสิทธิภาพสูง ซึ่งประกอบด้วยชิลเลอร์ระบบแบริ่งแม่เหล็ก (Magnetic Bearing Chiller) ขนาด 250 RT จำนวน 3 เครื่อง ที่ไร้แรงเสียดทานและถูกออกแบบให้ไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น จึงทำให้เป็นหนึ่งในตัวเลือกที่ประหยัดพลังงานมากที่สุด

ระบบดังกล่าว ประกอบด้วยปั๊มน้ำและคูลลิ่งทาวเวอร์ที่ขับเคลื่อนด้วยอุปกรณ์ควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ (VSD) ซึ่งควบคุมการทำงานของปั๊มโดยใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าที่จำเป็น ช่วยประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้า นอกจากนี้ยังมีระบบบริหารจัดการพลังงาน (EMS และ CPMS) ที่เข้ามาควบคุมการทำงานทั้งหมดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงเทคโนโลยีพัดลม EC (EC Fan) ในระบบเครื่องจ่ายลมเย็น AHU ที่ปรับและหมุนเวียนอากาศอัตโนมัติแบบเรียลไทม์พร้อมลดการใช้พลังงาน

ระบบทำความเย็นใหม่นี้ได้รับการออกแบบเพื่อช่วยประหยัดพลังงานไฟฟ้า โดยคาดว่าสามารถประหยัดพลังงานได้ประมาณ 3.5 GWh ต่อปี และยังสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 1,575 ตัน ซึ่งทางกรีน เยลโล่ จะทำการตรวจสอบระบบอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานและส่งเสริมการดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

คุณสเตฟาน ดูเฟรน ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายพาณิชย์และพันธมิตร (CCO) ของ กรีน เยลโล่ ประเทศไทย กล่าวว่า “กรีน เยลโล่รู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้สานต่อความร่วมมือกับ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผ่านโครงการใหม่ที่มีประสิทธิภาพนี้ ซึ่งเป็นการต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการโซลาร์เซลล์ที่ผ่านมา โดยกรีน เยลโล่มุ่งหวังที่จะช่วยประหยัดพลังงานให้มากขึ้น และสนับสนุนชไนเดอร์ ในการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนผ่านการนำเทคโนโลยีทำความเย็นประสิทธิภาพสูงมาปรับใช้ ซึ่งความร่วมมือนี้สะท้อนถึงความตั้งใจของกรีน เยลโล่ในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน และช่วยผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม”

คุณมงคล ตั้งศิริวิช ประธานกลุ่มคลัสเตอร์ ชไนเดอร์ อิเล็คทริค กล่าวเสริมว่า “ความร่วมมือกับ กรีน เยลโล่ในครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญในการสนับสนุนความมุ่งมั่นของชไนเดอร์ อิเล็คทริคในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานและความยั่งยืน ซึ่งระบบทำความเย็นนี้ จะสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานอีกด้วย”

กรีน เยลโล่ มุ่งมั่นนำเสนอโซลูชันด้านพลังงานอย่างครบวงจร ซึ่งครอบคลุมทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การลงทุนและการออกแบบ ไปจนถึงการขอใบอนุญาต การติดตั้ง การดำเนินงาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ซึ่ง กรีน เยลโล่ มีบริการที่ครอบคลุม ทั้งโซลูชัน Energy Efficiency และ Solar PPA ที่ได้มีการออกแบบบริการโซลูชันให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าที่แตกต่างกันออกไป โดยที่ลูกค้าไม่ต้องลงทุนและไม่มีค่าใช้จ่ายด้านการบำรุงรักษา รวมถึงการตรวจสอบระบบพลังงาน เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดประหยัดพลังงานอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ เป้าหมายของ กรีน เยลโล่ ยังเป็นไปในทิศทางเดียวกับเป้าหมายของไทยในการเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ในปี พ.ศ. 2593 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปีพ.ศ. 2608  อีกด้วย