Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

'กรุงไทย' ครบรอบ 58 ปี เร่งขับเคลื่อน 'นวัตกรรมสร้างคุณค่า ตอบโจทย์ลูกค้า สู่ความยั่งยืน”

'กรุงไทย' ครบรอบ 58 ปี เร่งขับเคลื่อน 'นวัตกรรมสร้างคุณค่า ตอบโจทย์ลูกค้า สู่ความยั่งยืน”
71
เขียนโดย intrend online 2024-03-14

นายลวรณ แสงสนิท ประธานกรรมการ ธนาคารกรุงไทย พร้อมคณะกรรมการ และผู้บริหาร นำโดย นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ร่วมทำบุญตักบาตรพระสงฆ์ 59 รูป ที่อาคารสำนักงานใหญ่ นานาเหนือ เนื่องในโอกาสครบรอบ 58 ปี ธนาคารกรุงไทย โดยได้รับเมตตาจาก “พระธรรมวชิรญาณ(จิรพล อธิจิตโต)” เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร ในการเจริญพระพุทธมนต์ และมอบโอวาสให้กับคณะกรรมการ ผู้บริหารและพนักงาน เพื่อเป็นสิริมงคลในการเริ่มต้นสู่ปีที่ 59 อย่างมั่นคง พร้อมจัดกิจกรรมการกุศล เชิญชวนพนักงานและผู้มีจิตศรัทธา ร่วมบริจาคสบทบทุนจัดหาอุปกรณ์การแพทย์ให้กับโรงพยาบาลขอนแก่น ผ่านบริการ e-Donation เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่และจังหวัดใกล้เคียง ได้รับการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ภายในงาน ยังจัดกิจกรรม “Wolf Hack ไล่ล่าคว้าไอเดีย” เฟ้นหาไอเดียใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนธนาคารให้ก้าวไปข้างหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทั้งในด้าน Upskill Reskill การสร้าง Way of Work ที่เน้นความร่วมมือแบบ Cross Collaboration และ เน้นการใช้ AI Tool ให้เกิดประสิทธิภาพและประโยชน์สูงสุด


ตลอดระยะเวลา 58 ปี ธนาคารกรุงไทย ในฐานะธนาคารพาณิชย์ชั้นนำของประเทศ ทำหน้าที่เป็นเสาหลักเศรษฐกิจ สนับสนุนนโยบายภาครัฐในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยนำนวัตกรรมดิจิทัลมาตอบโจทย์คนไทยทั้งในด้านการชำระเงิน บริการภาครัฐ บริการสุขภาพ บริการด้านการออมและการลงทุน ในโอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่ 59 เร่งขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสร้างคุณค่า ตอบโจทย์ลูกค้า สู่ความยั่งยืน” มุ่งนำเทคโนโลยี Generative AI มาใช้ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) สนับสนุนคนไทยการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม ภายใต้แนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม (Responsible Lending) พร้อมเสริมแกร่งความรู้ สร้างวินัยการเงินไม่ก่อหนี้เกินตัว เพื่อความยั่งยืน