Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

'ออริจิ้น'โกยยอดขายคอนโดใหม่ภูเก็ต “โซ ออริจิ้น บางเทา บีช”ทะลุ 80%

'ออริจิ้น'โกยยอดขายคอนโดใหม่ภูเก็ต “โซ ออริจิ้น บางเทา บีช”ทะลุ 80%
1
เขียนโดย Intrend online 2024-06-20

ตลาดลูกค้าไทย-ต่างชาติ หนุนแบ็คล็อกในภูเก็ตสะสมกว่า 4,000 ล้าน

ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ หรือ ORI กวาดยอดขายคอนโดเปิดใหม่ Q1/2567 “โซ ออริจิ้น บางเทา บีช” ทะลุ 80% หลังตลาดอสังหาฯในภูเก็ตขยายตัวต่อเนื่อง ไทย-ต่างชาติมองภูเก็ต “Top Destination” เปิดโครงการในภูเก็ตสะสม 3 โครงการ 5,150 ล้าน พร้อมตุนแบ็คล็อกแล้วกว่า 4,000 ล้าน จับมือเอเจนท์นานาชาติ เดินเครื่องกลยุทธ์เจาะตลาดทั้งลูกค้าอยู่อาศัยเอง ลูกค้าลงทุน ลูกค้าต่างชาติ ต่อเนื่อง

นายกฤษณ์ เตชะสัมมา ประธานเจ้าหน้าที่สายงานการตลาด บริษัท ออริจิ้น เวอร์ติเคิล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ORIGIN VERTICAL ในเครือบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI ผู้พัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร เปิดเผยว่า บริษัทสามารถกวาดยอดขายจากโครงการคอนโดมิเนียม โซ ออริจิ้น บางเทา บีช (SO Origin Bangtao Beach) โครงการที่เพิ่งเปิดตัวใหม่ในช่วงไตรมาส 1/2567 ที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2567 มียอดขายสะสมแล้วถึง 80%

 


“เราเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากส่วนกลางรายแรกๆ ที่เข้าสำรวจตลาดและทำเลต่างๆ ในภูเก็ตมาตั้งแต่ปี 2565 ส่งผลให้เราเข้าใจสภาพความต้องการของลูกค้าและความเปลี่ยนแปลงของตลาดในภูเก็ต ณ ปัจจุบัน ได้ที่ดินทำเลที่ยอดเยี่ยม ใกล้หาด เดินทางไปจุดต่างๆ สะดวก และมีเวลาในการพัฒนาคอนเซ็ปต์โครงการให้ตอบโจทย์ความต้องการของทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จนทำให้เราได้รับกระแสตอบรับที่ยอดเยี่ยม” นายกฤษณ์ กล่าว

ทั้งนี้ นับตั้งแต่ช่วงหลังสถานการณ์ COVID-19 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในภูเก็ตมีความคึกคักเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากภูเก็ตถือเป็นทำเลท่องเที่ยวและทำเลตากอากาศระดับท็อปของทั้งประเทศและของโลก เป็นทำเลที่มีความต้องการซื้อขยายตัวทั้งจากตลาดในประเทศและต่างประเทศ เช่น รัสเซีย ยังคงมองภูเก็ตเป็นจุดหมายปลายทางสำคัญทั้งเพื่อการพักตากอากาศและการอยู่อาศัยระยะยาว

 


นายกฤษณ์ กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา บริษัทเปิดตัวโครงการคอนโดมิเนียมในภูเก็ตสะสมแล้ว จำนวน 3 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 5,150 ล้านบาท ได้แก่ 1.ดิ ออริจิ้น เซ็นเตอร์ ภูเก็ต (The Origin Centre Phuket) โครงการใจกลางเมืองภูเก็ตที่สามารถปิดการขายได้ภายใน 6 สัปดาห์ 2.ดิ ออริจิ้น กะทู้-ป่าตอง (The Origin Kathu-Patong) โครงการใหม่ในแถบกะทู้ และ 3.โซ ออริจิ้น บางเทา บีช (SO Origin Bangtao Beach) โดยปัจจุบันมียอดขายรอรับรู้รายได้ (แบ็คล็อก) จากทั้ง 3 โครงการแล้วรวมกันกว่า 4,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ แผนการเปิดตัวโครงการใหม่ในภูเก็ตของบริษัท ยังคงเดินหน้าไปตามโรดแมปที่วางไว้เมื่อต้นปี 2567 โดยกลยุทธ์สำคัญของบริษัทในภูเก็ต คือ การพัฒนาฟังก์ชันและนวัตกรรมตอบโจทย์ลูกค้าทุกตลาดทุกกลุ่ม ทั้งลูกค้าเพื่ออยู่อาศัยเอง ลูกค้าลงทุนระยะยาว ตลอดจนลูกค้าต่างชาติ อาทิ การบริหารจัดการโดยทีมงานมืออาชีพ พร้อมบริการแม่บ้านทำความสะอาด อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ลงทุนระยะยาว ไม่ต้องหาผู้เช่าหรือจัดการเอง นอกจากนี้ บริษัทยังจับมือพันธมิตรเอเจนท์หลากหลายสัญชาติเพื่อให้โครงการมีโอกาสเข้าถึงกลุ่มลูกค้าต่างชาติได้มากขึ้นด้วย

“ตลาดภูเก็ตยังเป็นตลาดที่มีความต้องการอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยเอง ผู้ซื้อเพื่อเป็นบ้านพักตากอากาศ ผู้ซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว รวมถึงกลุ่มลูกค้าต่างชาติ ซึ่งมีอัตราการดูดซับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของตลาดทั้งประเทศ เราจึงมั่นใจว่าการเดินหน้าขับเคลื่อนกลยุทธ์ของเราในภูเก็ตจะได้รับการตอบรับที่ดีอย่างต่อเนื่อง” นายกฤษณ์​ กล่าว

สำหรับบริษัท ออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) หรือ ORI มีโครงสร้างธุรกิจหลากหลาย ประกอบด้วย 1.ธุรกิจพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อการขาย (Residential Development Business) พัฒนาคอนโดมิเนียมและบ้านจัดสรรมาแล้ว 158 โครงการ (ณ สิ้นไตรมาส 1/2567) เช่น แบรนด์ พาร์ค ออริจิ้น (Park Origin), โซ ออริจิ้น (So Origin), ออริจิ้น ปลั๊ก แอนด์ เพลย์ (Origin Plug & Play), ไนท์บริดจ์ (Knightsbridge), นอตติ้ง ฮิลล์ (Notting Hill), ออริจิ้น เพลส (Origin Place), ดิ ออริจิ้น (The Origin), เคนซิงตัน (Kensington), แฮมป์ตัน (Hampton), ออริจิ้น เพลย์ (Origin Play), บริกซ์ตัน (Brixton) และ บริทาเนีย (Britania) รวมมูลค่าโครงการกว่า 247,795 ล้านบาท 2.ธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income Business) เช่น โรงแรม เซอร์วิส อพาร์ตเมนท์ ค้าปลีก 3.ธุรกิจบริการ (Service Business) เช่น ธุรกิจให้บริการลูกบ้าน ธุรกิจการจัดการอสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจตัวแทนซื้อ ขาย เช่า อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ และ 4.ธุรกิจเมกะเทรนด์ระยะยาว (Mega Trends) กลุ่มธุรกิจใหม่ที่มีแนวโน้มเติบโตในระยะยาว เช่น ธุรกิจโลจิสติกส์ ธุรกิจเฮลท์แคร์ ธุรกิจพลังงาน ธุรกิจด้านการเงิน ธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนท์ ฯลฯ เพื่อยกระดับคุณภาพการใช้ชีวิตของผู้บริโภคแบบครบวงจร