Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab สำรวจความก้าวหน้าด้าน AI

KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab สำรวจความก้าวหน้าด้าน AI
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-11

KBTG ร่วมสนับสนุนโครงการ AHA ของ MIT Media Lab สำรวจความก้าวหน้าด้าน AI และ Human-Computer Interaction ระดับโลก 

KBTG ประกาศความร่วมมือกับโครงการ Advancing Humans with AI (AHA) โดย MIT Media Lab ในฐานะผู้ร่วมสนับสนุนการจัดตั้งโครงการ ตอกย้ำความตั้งใจในการผลักดันความก้าวหน้าด้าน AI และ Human-Computer Interaction ระดับโลก พร้อมบุกเบิกงานวิจัยเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่สังคมในวงกว้าง

นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธานกลุ่มบริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG) เปิดเผยว่า KBTG มุ่งมั่นยกระดับ AI และเทคโนโลยีล้ำสมัยในองค์กร เพื่อผลักดันให้ KBTG ก้าวสู่เวทีระดับโลก นับตั้งแต่ที่ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิก Research Consortium ในปี 2565 ทาง KBTG ได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยหลายชิ้น ได้แก่ 1.Future You: แพลตฟอร์ม AI ที่ให้ผู้ใช้สามารถสนทนากับ Digital Twin ของตัวเองในอนาคต 2.คู่คิด: AI Thought Partner และ Chatbot ให้คำปรึกษา 3.FinLearn: แพลตฟอร์มการศึกษาเพื่อส่งเสริมความรู้ด้านการเงินที่เข้าถึงง่าย 4.Future Jobs: แพลตฟอร์ม AI ที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับอาชีพโดยภาพจำลองตนเองจากอนาคตในสายอาชีพนั้น ๆ และ 5.Talk to the Hand: Mouse Pointer ที่ให้คำแนะนำบนหน้าเว็บไซต์แบบเรียลไทม์ โดยทั้งหมดนี้ตอกย้ำความตั้งใจของ KBTG ในการเป็นผู้นำด้าน AI ของไทยและภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปิดประตูสู่ความร่วมมือทางด้าน AI ใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้น 

 


ล่าสุด KBTG ได้ยกระดับความร่วมมือไปอีกขั้น เพื่อผลักดันความก้าวหน้าด้าน AI และ Human-Computer Interaction ระดับโลก ด้วยการเข้าร่วมเป็นผู้สนับสนุนการก่อตั้งโครงการใหม่ของ MIT Media Lab ชื่อว่า Advancing Humans with AI (AHA) ของ MIT Media Lab เป็นองค์กรแรกในเอเชีย โครงการ AHA นำโดย ศาสตราจารย์ Pattie Maes และ ดร. พัทน์ ภัทรนุธาพร นักวิจัย KBTG Fellow จาก MIT Media Lab ได้เปิดตัวในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2568 พร้อมการสนับสนุนจากหลายบริษัทที่มีรายชื่อบนฟอร์จูน โกลบอล 5000 กับเป้าหมายหลักในการผลักดันการวิจัยและพัฒนา AI และการปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และคอมพิวเตอร์ (Human-Computer Interaction) ให้สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมในวงกว้าง สร้างการเชื่อมต่อระหว่างเทคโนโลยีและมนุษย์ได้อย่างยั่งยืนและครอบคลุมทุกมิติของชีวิต รวมถึงสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของมนุษย์ (Human Flourishing) ผ่านระบบ AI ที่รองรับการทำงานหลายมิติ ขอบเขตการทำวิจัยของ AHA ประกอบไปด้วย 

 


- Decision-Making ระบบ AI ที่ช่วยเสริมกระบวนการตัดสินใจของมนุษย์และพัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 

- Mental Health and Behavior Change ระบบ AI ที่สนับสนุนสุขภาพจิตและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในเชิงบวก 

- Learning ระบบ AI ที่ออกแบบมาเพื่อสร้างประสบการณ์การเรียนรู้เฉพาะบุคคล สนับสนุนการพัฒนาตนเอง รวมถึงเสริมสร้างทักษะและความรู้ โดยเน้นการสร้างความอยากรู้อยากเห็น

- Creation, Design and Discovery ระบบ AI เชิงโต้ตอบที่สนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และการค้นพบของมนุษย์ 

- Communication and Collaboration ระบบ AI ที่ช่วยสนับสนุนการสื่อสาร การประสานงาน และการทำงานร่วมกัน 

- Assistive Augmentation ระบบ AI ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือบุคคลหรือกลุ่มคนที่มีความต้องการเฉพาะด้าน เช่น ผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความหลากหลายทางระบบประสาท (Neurodivergent People) 

KBTG ตั้งเป้าที่จะนำองค์ความรู้ที่ได้จากโครงการ AHA ไปขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ส่งเสริมการพัฒนาทักษะ ความรู้ และปลูกฝังแนวคิดเชิงบวกในระยะยาว (Positive Long-Term Thinking) ในตัวบุคคล รวมถึงเป้าหมายในอนาคตที่ยังคงมุ่งเน้นการพัฒนาวิธีการประยุกต์ใช้ AI เพื่อสร้างประโยชน์ให้กับมนุษย์และสังคม