Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ททท. จัดเวทีเสวนา "เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของอาหารไทยผ่านคู่มือ มิชลิน ไกด์"

ททท. จัดเวทีเสวนา
1
เขียนโดย Intrend online 2025-04-25

ผลักดันไทยเป็น “จุดหมายด้านอาหารระดับโลก” ตอกย้ำ Gastronomy Tourism ที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง

 

 

กรุงเทพฯ, 25 เมษายน 2568 - การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเวทีเสวนาในหัวข้อ "เส้นทางสู่ความเป็นเลิศของอาหารไทยผ่านคู่มือ มิชลิน ไกด์" ณ ห้องบอลรูม โรงแรม อนันตรา สยาม กรุงเทพฯ ถนนราชดําริ เขตปทุมวัน ตอกย้ำภาพลักษณ์ด้านอาหารของประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่องหลังการเข้ามาของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ในประเทศไทยครบ 8 ปี โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. ร่วมเวทีเสวนา พร้อมด้วยนายศุภักษร จงศิริ (เชฟไอซ์ จากร้านศรณ์ รางวัลสามดาวมิชลิน)  นายสิทธิกร จันทป (เชฟอู๋ จากร้านอัคคี รางวัลหนึ่งดาวมิชลิน และ MICHELIN Guide Young Chef Award ปี 2568) และนายวีระวัฒน์ ตริยเสนวรรธน์ (เชฟหนุ่ม จากร้านซาหมวยแอนด์ซันส์ รางวัลบิบ กูร์มองด์ จังหวัดอุดรธานี) ร่วมนำเสนอความสำเร็จจากความร่วมมือในการผลักดันศักยภาพของประเทศไทยให้เป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารระดับโลก

 

 

นางสาวฐาปนีย์  เกียรติไพบูลย์ ผู้ว่าการ ททท. กล่าวว่า "ความร่วมมือกับมิชลินตลอด 8 ปีที่ผ่านมาได้ช่วยยกระดับวงการอาหารไทยและการท่องเที่ยวเชิงอาหารอย่างเป็นรูปธรรม จากการเริ่มต้นแนะนำร้านอาหารในกรุงเทพมหานครเมื่อปี 2561 ซึ่งมีร้านอาหารในคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ เพียง 98 ร้าน ปัจจุบันคู่มือเล่มล่าสุดปี 2568 มีจำนวนถึง 462 ร้าน ครอบคลุม 11 พื้นที่ทั่วทุกภูมิภาค และที่สำคัญในปี 2568 นี้ ร้านศรณ์ โดยเชฟไอซ์ ศุภักษร จงศิริ ได้รับสามดาวมิชลินเป็นร้านแรกในประเทศไทยและเป็นร้านอาหารไทยร้านแรกของโลก นับเป็นความภาคภูมิใจครั้งสำคัญของวงการอาหารไทย"

การเข้ามาของคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2561 ได้ส่งผลให้ภาพลักษณ์การท่องเที่ยวเชิงอาหาร (Gastronomy Tourism) ของประเทศไทยเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากผลการประเมินภาพลักษณ์การท่องเที่ยวด้านอาหารประจำปี 2567 โดยบริษัท เคเนติกส์ คอนซัลติ้ง จำกัด พบว่า นักท่องเที่ยวต่างชาติมองประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายทางที่มีภาพลักษณ์เป็น “แหล่งท่องเที่ยวเชิงอาหารที่โดดเด่น” ในระดับ 53% เพิ่มขึ้นจาก 44% ในปี 2566 ครองอันดับ 2 รองจากประเทศญี่ปุ่น

 

 


ภายในงานเสวนา เชฟจากร้านอาหารที่ได้รับการแนะนำโดยคู่มือ ‘มิชลิน ไกด์’ ที่เข้าร่วมยังได้กล่าวถึงแนวทางของแต่ละร้านที่ล้วนยกระดับการใช้วัตถุดิบพื้นบ้านนำไปสู่อาหารติดดาวมิชลินระดับโลก โดยเชฟไอซ์ จากร้านศรณ์ ซึ่งเป็นร้านอาหารไทยภาคใต้ ได้กล่าวถึงแรงบันดาลใจในการค้นพบวัตถุดิบท้องถิ่นภาคใต้ที่เริ่มสูญหายด้วยการเดินทางไปเลือกวัตถุดิบในพื้นที่ด้วยตัวเอง และนำมาประยุกต์ใช้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นผสมผสานกับเทคนิคปรุงอาหารที่ทันสมัยกลายเป็นเมนูสุดพิเศษเสิร์ฟในแบบอาหารใต้ไฟน์ไดนิงที่สามารถยกระดับอาหารไทยไปสู่ระดับโลก เชฟอู๋ จากร้านอัคคี มีความสนใจในการเฟ้นหาวัตถุดิบจากแหล่งโดยตรงของเกษตรกรในแต่ละท้องถิ่นที่มีอยู่ทั่วประเทศไทย จนกว่าจะรวบรวมวัตถุดิบได้ครบก็เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาพอสมควร นำมาปรุงและปลุกชีวิตสูตรอาหารโบราณหยิบมาเล่าให้คนทั่วโลกได้เห็นวัฒนธรรมอาหารไทยในรูปแบบสำรับอาหารให้น่าสนใจ รวมถึง เชฟหนุ่ม จากร้านซาหมวยแอนด์ซันส์ นำเสนอมุมมองอาหารอีสานที่มีมากกว่าส้มตำไก่ย่างตามที่คนส่วนใหญ่รู้จัก โดยจะนำวัตถุดิบจากตลาดพื้นบ้านตามฤดูกาล ฟาร์มออร์แกนิก มานำเสนอด้วยเทคนิคการปรุงที่ชูคุณสมบัติทางอาหารและยาของเครื่องปรุงแต่ละชนิด ด้วยรูปแบบอาหารอีสานสมัยใหม่ที่อร่อย สวยงาม และมีคุณค่าทางโภชนาการ

สำหรับภาพลักษณ์ด้านอาหารของไทยในระดับนานาชาติ พบว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อาทิ นิตยสารชื่อดัง Time Out ได้จัดอันดับให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองอาหารที่ดีที่สุดอันดับ 2 ของโลกประจำปี 2568 รองจากเมืองนิวออร์ลีนส์ รัฐลุยเซียนาของสหรัฐอเมริกา โดย Time Out เผยว่ากรุงเทพฯ มีอาหารคุณภาพหลากหลายรูปแบบทั้งอาหารไฟน์ไดนิงที่สร้างประสบการณ์อันน่าจดจำและอาหารสตรีตฟู้ดราคาไม่ถึง 100 บาทที่ให้ประสบการณ์ยอดเยี่ยมไม่แพ้กัน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังขึ้นชื่อเรื่องมรดกวัฒนธรรมด้านอาหารที่หลากหลายและโดดเด่นในหลายจังหวัดนอกเหนือจากกรุงเทพฯ โดยเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของยูเนสโก (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) ยังได้ขึ้นทะเบียนให้จังหวัดภูเก็ต (ปี 2558) และจังหวัดเพชรบุรี (ปี 2564) เป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (City of Gastronomy) โดยยกย่องวัตถุดิบท้องถิ่นอันล้ำค่าและสูตรอาหารแบบดั้งเดิมของชุมชน ซึ่งทางจังหวัดภูเก็ตสามารถสร้างมูลค่าเศรษฐกิจท้องถิ่นจากอาหารได้กว่า 3.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี 

ททท. เล็งเห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ซึ่งจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อช่วยกันยกระดับคุณภาพและมาตรฐานของวงการอาหารไทย โดยมั่นใจว่าประเทศไทยจะเติบโตอย่างแข็งแกร่งในฐานะจุดหมายปลายทางด้านอาหารชั้นนำของโลก และสามารถสร้างประสบการณ์ด้านอาหารที่มีเอกลักษณ์และน่าประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกอย่างยั่งยืนต่อไป