Breaking News

KKP Research โดยเกียรตินาคินภัทร ประเมินว่าตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญแรงกดดันจากปัจจัยมหภาคหลายด้าน ทั้งเศรษฐกิจในประเทศที่ฟื้นตัวช้า นโยบายการเงินที่ยังคงตึงตัว และแรงกดดันจากมาตรการภาษีระหว่างประเทศ ส่งผลให้ปรับลดเป้าหมายดัชนี SET ปี 2025 ลงเหลือ 1,230 จุด จากเดิม 1,460 จุด ซึ่งสะท้อนอัพไซด์เพียง 5% จากระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ ในระยะสั้นยังมีความเสี่ยงที่ดัชนีจะปรับระดับลงไปทดสอบ 1,000 จุด ซึ่งอาจกระตุ้นให้ภาครัฐต้องออกมาตรการพยุงเศรษฐกิจ  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

"พฤกษา" ขับเคลื่อนโครงการ "Plant to Plate" ปลูกความสุขให้ผู้พิการ

1
เขียนโดย intrend online 2025-04-17

เปลี่ยนบ้านเป็นแหล่งอาหารยั่งยืน ส่งเสริมวิถีชีวิต “กินดี-อยู่ดี-มีสุข”

การดำเนินธุรกิจควบคู่กับความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นแนวทางที่ “พฤกษา” ดำเนินการมาโดยตลอดภายใต้แนวคิด "ใส่ใจเพื่อทั้งชีวิต...อยู่ดี มีสุข Live well Stay well" ที่ผ่านมาจึงได้เห็นพฤกษาเดินหน้าส่งมอบคุณค่าการอยู่อาศัยที่ครอบคลุมการสร้าง "ปัจจัยสุข สร้างสุขภาพดี ชุมชนดี" ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้กรอบแนวคิด ESG ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ล่าสุด ได้ร่วมกับมูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ (ยิ้มสู้) จัดโครงการ "Plant to Plate" เพื่อสนับสนุนผลผลิตทางการเกษตรของผู้พิการ และส่งเสริมวิถีชีวิตการกินดี เพื่อสร้างสุขภาพดีของลูกบ้าน โครงการนี้จึงไม่เพียงสร้างโอกาสให้ผู้พิการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นการส่งเสริมวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพดีให้ลูกบ้าน สอดคล้องกับเป้าหมายด้าน ESG ของพฤกษาในการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

ก่อนหน้านี้ พฤกษาได้สนับสนุนความเท่าเทียมในสังคม โดยช่วยเหลือคนพิการในชนบทผ่านโครงการ “บ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA'” ซึ่งเป็นโครงการภายใต้แนวคิด ESG ในมิติสังคม ที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้คนพิการดำรงชีวิตได้อย่างสะดวกสบายและมีศักดิ์ศรี เป็นการสร้างปัจจัยสุข สู่ชุมชน โครงการ Plant to Plate จึงเป็นการต่อยอดมาจากโครงการบ้านใส่ใจเพื่อคนพิการ By PRUKSA โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ให้ผู้พิการ ขณะเดียวกันก็เกิดประโยชน์กับลูกบ้านพฤกษาด้วย

Plant to Plate เชื่อมโยงผลผลิตปลอดสารพิษจากศูนย์ฝึกอาชีพสู่ชุมชน

จุดเริ่มต้นของโครงการ Plant to Plate เกิดขึ้นจากการที่มูลนิธิสากลเพื่อคนพิการ (ยิ้มสู้) ได้รับทุนจากทุนวิจิตรพงศ์พันธุ์ ซึ่งเป็นเงินบริจาคส่วนตัวของคุณทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ผู้ก่อตั้งพฤกษาฯ ที่ได้มอบเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนการสร้างศูนย์การเรียนรู้การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน จังหวัดนครปฐม ให้เป็นแหล่งฝึกอาชีพให้คนพิการในด้านการเกษตร เช่น การเพาะปลูกผักแบบใช้ดินและไฮโดรโปนิกส์ การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน การเพาะเลี้ยงจิ้งหรีดและเห็ด รวมถึงการปลูกเมล่อนและมะเขือเทศ โดยผลผลิตที่ได้ล้วนปลอดสารพิษซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพผู้บริโภค

 

 

พนักงานจิตอาสาของพฤกษาที่ได้ไปเยี่ยมชมศูนย์ฯ เล็งเห็นประโยชน์ในการต่อยอดจึงเกิดแนวคิดการเชื่อมโยงผลผลิตจากศูนย์ฯ เข้ามาที่โครงการบ้าน จึงเปิดพื้นที่ให้มูลนิธิฯ นำผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษเข้าไปจำหน่ายให้ลูกบ้านในโครงการพฤกษาในพื้นที่ใกล้เคียงศูนย์ฯ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ ยังจัดกิจกรรมสอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับลูกบ้านที่สนใจโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายด้วย

กินดี-อยู่ดี-มีสุข: ประโยชน์ที่ทุกฝ่ายได้รับ

โครงการ Plant to Plate ถูกออกแบบให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายตามแนวคิด "กินดี-อยู่ดี-มีสุข" ได้แก่

กินดี – ลูกบ้านในโครงการพฤกษาได้บริโภคผักปลอดสารพิษ ทั้งจากการซื้อผลผลิตที่คนพิการปลูก และจากการปลูกเองตามความรู้ที่ได้รับจากการอบรม

อยู่ดี - ลูกบ้านมีสุขภาพที่ดีขึ้นจากการได้บริโภคอาหารที่ปลอดภัย ปราศจากสารเคมี สอดคล้องกับเทรนด์การดูแลสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน

มีสุข - เกิดความสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ โดยลูกบ้านได้ความสุขใจจากการอุดหนุนและช่วยเหลือคนพิการ ขณะเดียวกัน คนพิการก็ได้รับรายได้และความภาคภูมิใจจากการส่งมอบผลิตภัณฑ์คุณภาพดีให้กับผู้บริโภค

ด้านผู้พิการที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวได้เผยความรู้สึกที่สร้างความประทับใจให้กับทั้งพฤกษา และลูกบ้านพฤกษา นั่นคือ โครงการนี้ทำให้พวกเขารู้สึกตื่นเต้นสนุกสนานกับการได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ที่ได้ออกมาทดลองขายของ ได้พบปะลูกค้าจริง มีความภาคภูมิใจมากที่ได้เป็นผู้แชร์ผู้สอนการปลูกผัก รู้สึกมีคุณค่ามากขึ้นจากที่ก่อนหน้านี้เขารู้สึกว่าตนเองคือภาระ แต่ด้วยโครงการนี้ทำให้เขากลับเป็นส่วนหนึ่งของสังคม มีความทัดเทียม สามารถเปลี่ยนภาระเป็นพลัง 

ส่งเสริม ESG อย่างเป็นรูปธรรม

โครงการ “Plant to Plate” จึงนับเป็นโครงการที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของพฤกษาในการดำเนินธุรกิจตามกรอบ ESG อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะในมิติทางสังคม ที่มุ่งสร้างโอกาสและความเท่าเทียมให้กับทุกคนในสังคม มิติด้านสิ่งแวดล้อม ที่ได้ส่งเสริมการผลิตและบริโภคอาหารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิต ซึ่งช่วยลดผลกระทบต่อระบบนิเวศโดยรวม และมิติด้านธรรมาภิบาล พฤกษาแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและความรับผิดชอบผ่านการสนับสนุนโครงการที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม

พฤกษาเชื่อมั่นว่าการเติบโตอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้เมื่อทุกภาคส่วนในสังคมเติบโตไปด้วยกัน โครงการ Plant to Plate จึงไม่ใช่เป็นเพียงการทำ CSR แต่เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ทางธุรกิจที่มุ่งสร้างคุณค่าร่วมให้กับทุกฝ่าย ทั้งบริษัท ลูกค้า และสังคมโดยรวม