Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

“ไทยออยล์-กรุงไทย” ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน

“ไทยออยล์-กรุงไทย” ลงนาม MOU ธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-03

เชื่อมโยงเป้าหมาย ESG ทั้ง 3 ด้าน ตอบโจทย์องค์กรยั่งยืน

ไทยออยล์ ร่วมกับ ธนาคารกรุงไทย จัดทำบันทึกความร่วมมือธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงเป้าหมายด้านความยั่งยืน ครอบคลุม KPI ทั้ง 3 แง่มุม ได้แก่ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม และด้านธรรมาภิบาล นับเป็นครั้งแรกสำหรับธุรกิจโรงกลั่นที่มุ่งมั่นในการนำเป้าหมาย ESG ในทุกมิติ มาผสานกับการบริหารความเสี่ยงทางการเงิน ตอบโจทย์การขับเคลื่อนองค์กรสู่ความยั่งยืน

นางวนิดา บุญภิรักษ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ด้านการเงินและบัญชี บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ ไทยออยล์ เปิดเผยถึงความสำคัญของการบริหารจัดการทางการเงินควบคู่ไปกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืนของบริษัท โดยธุรกรรมในครั้งนี้ได้ให้ความสำคัญกับการบูรณาการทุกมิติ ตั้งแต่การใช้พลังงานในโรงกลั่นอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลชุมชนโดยรอบ และการดำเนินธุรกิจภายใต้หลักของธรรมภิบาลสูงสุด

ทั้งนี้ ไทยออยล์ได้สร้างนวัตกรรมใหม่ในการบริหารความเสี่ยงทางการเงินด้วยการนำแนวทางดังกล่าวมาผสานเข้ากับการวัดผลดำเนินงานที่มีความเชื่อมโยงกับกลยุทธ์ ESG อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสอดคล้องต่อวิสัยทัศน์ของบริษัทฯ ในการ "สร้างสรรค์คุณภาพชีวิต ด้วยพลังงานและเคมีภัณฑ์ที่ยั่งยืน" อย่างมีประสิทธิผลและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

นายรวินทร์ บุญญานุสาสน์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกรุงไทย มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมและบริการทางการเงิน เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในทุกมิติ ทั้งการบริหารจัดการทางการเงิน และการขับเคลื่อนเป้าหมายด้านความยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “เคียงข้างไทย สู่ความยั่งยืน” ล่าสุด ร่วมกับ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จัดทำความร่วมมือธุรกรรมบริหารความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน เชื่อมโยงเป้าหมาย ESG โดยหากบริษัทฯ ดำเนินเป้าหมาย ESG สำเร็จครบทั้ง 3 ด้าน ธนาคารจะให้การสนับสนุนส่วนลดบนธุรกรรม เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ให้ธุรกิจเติบโตไปพร้อมกับทุกภาคส่วนในสังคมอย่างยั่งยืน

ความร่วมมือครั้งนี้ ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการความเสี่ยงทางการเงินสู่ระดับสากล สะท้อนความมุ่งมั่นในการสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยการนำนวัตกรรมทางการเงินมาตอบโจทย์ความท้าทายในปัจจุบันและอนาคต ที่จะช่วยวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนในทุกมิติ สอดคล้องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) ในด้านการขับเคลื่อนธุรกิจและเศรษฐกิจประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน