Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

ธนาคารยูโอบี เปิดโครงการ Womenpreneur: Sustainability and Innovation

ธนาคารยูโอบี เปิดโครงการ Womenpreneur: Sustainability and Innovation
1
เขียนโดย intrend online 2025-04-03

เสริมศักยภาพผู้ประกอบการหญิง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

บรรยายใต้ภาพ (จากซ้ายไปขวา): คุณพณิตตรา เวชชาชีวะ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ Financial Institutions และ ESG Solutions, ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, คุณปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, คุณวีระอนงค์ จิระนคร ภู่ตระกูล กรรมการผู้จัดการ Deputy CEO และ Wholesale Banking, ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย, ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ ตัวแทนคณะทำงาน BCG Model สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย, คุณวีชัชชฎา ยงสุวรรณกุล ผู้อำนวยการ CEED (Thailand) และ อุปนายกสมาคมผู้ประกอบการธุรกิจครอบครัว (AFBE) และ คุณอัจฉรา ปู่มี ผู้บริหารและผู้ก่อตั้ง PAC Corporation

กรุงเทพมหานคร, 3 เมษายน 2568 – ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย มุ่งสนับสนุนผู้ประกอบการหญิง เสริมศักยภาพในการทำธุรกิจ เปิดตัวโครงการ Womenpreneur: Sustainability and Innovation ดำเนินการโดย ยูโอบี ฟินแล็บ (UOB FinLab) และศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการและผู้บริหารระดับสูง (CEED) เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนผู้ประกอบการหญิง เชื่อมโยงธุรกิจกับเครือข่าย พร้อมแนะนำเครื่องมือดิจิทัลและการนำความยั่งยืนมาใช้ในธุรกิจ เพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการเติบโตและสร้างผลกระทบเชิงบวกในระยะยาวได้

นางสาวปิยพร รัตน์ประสาทพร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ เครือข่ายสาขาและบริการดิจิทัล ธนาคารยูโอบี ประเทศไทย กล่าวว่า “โครงการ Womenpreneur สะท้อนความมุ่งมั่นของเราในการสร้างระบบนิเวศที่เข้มแข็ง พร้อมสำหรับการเติบโตของผู้ประกอบการหญิง ด้วยความยั่งยืนและนวัตกรรมกลายเป็นสิ่งที่ธุรกิจให้ความสำคัญมากขึ้น โครงการได้เตรียมเวิร์กชอปเชิงปฏิบัติการนำโดยวิทยากรผู้ชำนาญการด้านนวัตกรรมต่างๆ การให้คำปรึกษาเฉพาะรายธุรกิจ เครื่องมือดิจิทัลและโซลูชันต่างๆ พร้อมเครือข่ายผู้ประกอบการและพันธมิตรต่างๆ ที่ทำงานร่วมกับ UOB FinLab และเครือข่ายพันธมิตรของเรา ซึ่งจะช่วยให้ผู้ประกอบการหญิงสามารถสร้างธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนในยุคดิจิทัลนี้ได้”

โครงการ Womenpreneur: Sustainability and Innovation คัดเลือก 25 ผู้ประกอบการหญิงจากทั้งหมด 185 บริษัท จากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วมโครงการตลอดระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่ช่วงเดือนเมษายนถึงมิถุนายน 2568 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย สามารถติดตามรายละเอียดโครงการได้ที่ www.facebook.com/uob.th หรือ https://thefinlab.com/th/thailand