Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 2.00%

กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 2.00%
1
เขียนโดย ศูนย์วิจัยกสิกรไไทย 2025-02-26

กนง. มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ปรับดอกเบี้ยนโยบายลงมาอยู่ที่ 2.00% ในการประชุมวันที่ 26 ก.พ. 

การประชุมกนง. วันที่ 26 ก.พ. ที่ผ่านมา มีมติไม่เป็นเอกฉันท์ที่ 6 ต่อ 1 เสียง ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.25% ลงมาอยู่ที่ระดับ 2.00% ต่างจากที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดไว้ เนื่องจากกนง. ให้น้ำหนักต่อความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดยมองเศรษฐกิจมีแนวโน้มไทยขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ จากภาคการผลิตอุตสาหกรรม และความไม่แน่นอนจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ นอกจากนี้ กนง. มองการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในครั้งนี้ช่วยลดความตึงตัวของภาวะการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสินเชื่อ SMEs ขณะที่ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา (รูปที่ 1) อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สนับสนุนการปรับลดดอกเบี้ยในครั้งนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดกนง. ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายอีก 1 ครั้งในปีนี้ แต่ไม่ใช่ในครั้งต่อไป โดยกนง. คงรอติดตามตัวเลข GDP ไทยในไตรมาส 1/2568 รวมถึงหลังเห็นภาพผลกระทบจากนโยบายการค้าชัดเจนขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจไทยเผชิญความเสี่ยงสูงขึ้นโดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีหลังและภาคอุตสาหกรรมยังคงเผชิญแรงกดดันจากการแข่งขันที่สูงขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการลดดอกเบี้ยเพิ่มเติม  

ทั้งนี้ หลังจากผลการประชุมกนง. ออกมา ค่าเงินบาทขยับอ่อนค่าลงและตลาดหุ้นตอบรับเป็นบวก โดยค่าเงินอ่อนค่ามาแตะระดับราว 33.88 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ ตลาดหุ้น SET Index ปิดตลาดพุ่งขึ้นราว 25 จุดไปแตะระดับ 1,231.14 จุด จากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ 1,206.39 จุด