Breaking News

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองทิศทางเศรษฐกิจไทย 2568 เสี่ยงหลายปัจจัยลบ ทำภาคการผลิตหดตัวติดต่อกันเป็นปีที่ 3 คาดแรงส่งจากการท่องเที่ยวช่วยฟื้นเศรษฐกิจได้แบบจำกัด ขณะที่ ยังคงประมาณการจีดีพีปี 2568 เติบโตที่ 2.4% *** KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทย ปี 2025 มีแนวโน้มโตได้ช้าลงกว่าที่ประเมินไว้ โดยคาดว่าจะเติบโตได้เพียง 2.3% จากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาได้ต่ำกว่าที่คาด ธนาคารแห่งประเทศไทยน่าจะปรับลดดอกเบี้ยเพิ่มเติมอีก 3 ครั้ง โดยคาดว่าอัตราดอกเบี้ยอาจลงไปต่ำสุดที่ 1.25% ในปี 2026  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยเศรษฐกิจไทยปี 2567 โต 2.5% ต่ำกว่าคาดการณ์ไว้ที่ 2.6% เล็กน้อย GDP ไตรมาส 4 ขยายตัวที่ 3.2% YoY น้อยกว่าที่คาด หลักๆ เป็นผลจากสินค้าคงคลังที่หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้ามากกว่าที่คาด จากความความเชื่อมโยงระหว่างภาคการผลิตและการส่งออกที่ต่ำกว่าที่ประเมิน โดยแม้การส่งออกจะขยายตัวได้ดีในหลายสินค้า แต่การผลิตภาคอุตสาหกรรมยังแทบจะไม่ขยายตัว ขณะที่การผลิตภาคเกษตรขยายตัวต่ำ ทั้งเป็นผลจากการปรับฐานในไตรมาส 4/2566 ให้สูงขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้อัตราการขยายตัวในไตรมาส 4/2567 ต่ำกว่าที่คาดไว้  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เผยการส่งออกไทยในเดือน ธ.ค. 2567 ขยายตัว 8.7%YoY ส่งผลให้ทั้งปีขยายตัวได้ 5.4% โดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นประวัติการณ์ จากการเร่งส่งออกสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ • ในปี 2568 การส่งออกไทยมีแนวโน้มเติบโตได้ต่ำกว่าปี 2567 ที่ 2.5% โดยครึ่งปีแรกยังมีแรงหนุนจากการเร่งนำเข้าสินค้าและวัฏจักรขาขึ้นของสินค้าอิเล็กทรอนิกส์  ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยเดือน ธ.ค. 2567 เร่งตัวสูงขึ้นมาอยู่ที่ 1.23% YoY สูงสุดในรอบ 7 เดือน และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน ธ.ค. 2567 อยู่ที่ 0.79% YoY โดยมีปัจจัยหนุนหลักจากราคาพลังงานอย่างค่าไฟฟ้าและราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลที่ปรับสูงขึ้นจากปัจจัยฐานต่ำในเดือน ธ.ค. 2566 เนื่องจากมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของทางภาครัฐ ประกอบกับราคาสินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มบางรายการปรับตัวสูงขึ้น

การเคหะฯ ลงนาม MOU ร่วมกับ AIT ผลักดัน“ที่อยู่อาศัยสีเขียวอย่างยั่งยืน”

การเคหะฯ ลงนาม MOU ร่วมกับ AIT ผลักดัน“ที่อยู่อาศัยสีเขียวอย่างยั่งยืน”
1
เขียนโดย Intrend online 2025-03-31

ดร.สมิทธิ ดารากร ณ อยุทธยา กรรมการการเคหะแห่งชาติ ในฐานะกรรมการด้านการจัดการความรู้และนวัตกรรม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชน เทคโนโลยีและการออกแบบอาคารขั้นสูง ภายใต้กิจกรรม “การส่งเสริมการพัฒนาที่อยู่อาศัยสีเขียวอย่างยั่งยืน” โดยมี นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ ศาสตรจารย์ Phi Chi Li อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ร่วมลงนามดังกล่าว พร้อมด้วยนาวาอากาศโท ธนัช วรรณสังข์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานการเคหะแห่งชาติ เข้าร่วมงาน เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ณ สำนักงานใหญ่ การเคหะแห่งชาติ ถนนนวมินทร์ เขตบางกะปิ กรุงเทพฯ

 


นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า การเคหะแห่งชาติมีภารกิจหลัก ในการจัดหาที่อยู่อาศัยให้กับประชาชนที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเองในราคาที่จับต้องได้ พร้อมทั้งบริหารจัดการชุมชนให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ทั้งยังมุ่งมั่นการฟื้นฟูชุมชนเมืองให้มีสภาพแวดล้อมที่ดีขึ้นและสามารถรองรับการขยายตัวของเมืองได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยประหยัดพลังงานในราคาที่เป็นมิตรกับประชาชน รวมถึงบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความเชี่ยวชาญในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการออกแบบและพัฒนาที่อยู่อาศัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
 


สำหรับการลงนาม MOU ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ในครั้งนี้ นับเป็นก้าวสำคัญของความร่วมมือทางวิชาการในการพัฒนาที่อยู่อาศัยและชุมชน เป็นการบูรณาการองค์ความรู้จากทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคเอกชน ด้วยแนวคิด “ที่อยู่อาศัยสีเขียวอย่างยั่งยืน” ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีและการออกแบบอาคารขั้นสูงมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งการพัฒนาเมืองและที่อยู่อาศัยอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะที่อยู่อาศัยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประหยัดพลังงาน และสามารถตอบโจทย์คุณภาพชีวิตที่ดี จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่งและสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล นอกจากนี้ยังตอบสนองนโยบาย 5x5 ฝ่าวิกฤตประชากรของนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ด้านที่ 5 การสร้างระบบนิเวศ (Eco-system) ที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความมั่นคงของครอบครัวอีกด้วย

“การเคหะแห่งชาติและ AIT ตระหนักดีว่า ความสามารถในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน และการจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย นับเป็นความท้าทายที่จะเร่งดำเนินการควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถและนวัตกรรมอื่นในการจัดการที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับกระแสโลก เช่น การพัฒนาที่อยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการชุมชนให้เป็นชุมชนเข้มแข็งพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของการเคหะแห่งชาติที่มีความสำคัญอย่างมากต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพราะจะช่วยสร้างอาคารที่มีประสิทธิภาพสูง ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัย เพื่อส่งเสริมเทคโนโลยีอาคารอัจฉริยะ ช่วยลดมลพิษและสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย ตามวิสัยทัศน์ สร้างบ้าน สร้างสุข เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดี” นายทวีพงษ์ กล่าวทิ้งท้าย